สรรพคุณใบแปะก๊วย สมุนไพรโบราณ สารสกัดยอดนิยมในอาหารเสริม

การแพทย์แผนจีนหรือสมุนไพรของจีนนั้นมีคุณประโยชน์ที่ช่วยรักษาโรคให้กับชาวไทยมาช้านานหลายปีและมีมากมายหลายชนิดที่คนไทยนำมาใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งในบรรดาสมุนไพรทั้งหมดนั้น ‘ใบแปะก๊วย’ ถือว่าเป็นหนึ่งในประเภทที่หลายคนอาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะสรรพคุณใบแปะก๊วยก็ถือว่าเป็นที่เลื่องชื่อว่าสามารถรักษาได้หลายโรคและยังช่วยบำรุงสุขภาพได้ดีอีกด้วยปัจจุบันจึงสังเกตได้ว่าอาหารเสริมต่าง ๆ มักจะมีส่วนผสมของใบแปะก๊วยอยู่ด้วย แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียหรือข้อที่ควรระมัดระวังเหมือนกัน ฉะนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักสมุนไพรประเภทนี้รวมถึง สรรพคุณใบแปะก๊วย กันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้างและใครบ้างที่สามารถรับประทานได้ 


ถิ่นกำเนิดของใบแปะก๊วย

สรรพคุณใบแปะก๊วย

แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกของประเทศจีนและนับว่าเป็นหนึ่งในพืชที่เก่าแก่ที่สุดโดยมีการคาดการณ์ว่าอยู่บนโลกเรามานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว พืชชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae พืชที่มีอายุมากที่สุด ลักษณะของมันเป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 30-40 เมตร ส่วนใบจะออกจากปลายกิ่งมาปลายสั้น ๆ มีรูปร่างคล้ายพัดจีนและจะออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อมันมีอายุ 20 ปีขึ้นไปจะเริ่มให้ผลที่มีลักษณะกลมรี สีเหลือง มีกลิ่นฉุน ซึ่งหลังจากผสมเกสรแล้วต้องใช้เวลาถึง 130-140 วัน ถึงจะสุกและสามารถรับประทานได้ แปะก๊วยเรียกได้ว่าเป็นพืชที่ทนได้เป็นอย่างดีเพราะไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวนแถมยังทนต่อพายุลมและมลพิษอีกหลายชนิด

ชาวจีนเชื่อว่าสมุนไพรประเภทนี้เป็นยาอายุวัฒนะเพราะสามารถช่วยบำบัดโรคต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยบำรุงสมอง สมุนไพรแก้โรคประสาท ช่วยให้มีความจำและสมาธิดีขึ้น และสำหรับชาวไทยนั้นหลาย ๆ คนมักจะนำเมล็ดแปะก๊วยมาทำเป็นของหวานและใช้เป็นส่วนผสมในอาหารจีน เช่น ผัดโหงวก้วยหรือขนมบะจ่าง เป็นต้น

สรรพคุณใบแปะก๊วย

ในส่วนของใบแปะก๊วยยังสามารถรักษาภาวะผิดปกติทางสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย เนื่องจากมันสามารถรักษาภาวะสูญเสียความทรงจำ ตั้งสมาธิลำบาก และอารมณ์แปรปรวนได้ นอกจากนี้บางคนยังใช้สรรพคุณใบแปะก๊วยเพื่อรักษาอาการปวดขาเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดีได้ด้วยเหมือนกัน แต่ผลลัพธ์นี้ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนมากเพียงพอ


สรรพคุณใบแปะก๊วย สมุนไพรโบราณมากคุณประโยชน์

สรรพคุณใบแปะก๊วย

สรรพคุณใบแปะก๊วยมีมากมายหลายอย่าง พืชชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมในวงการแพทย์แผนจีนมานานกว่า 5,000 ปีแล้ว เมื่อสมัยก่อนสมาชิกในราชสำนักยังนิยมนำใช้แปะก๊วยมารักษาความแก่ชราอีกด้วยโดยมักจะนำมาดื่มกันในรูปแบบชา ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีการนำมาแปรรูปหรืออยู่ในส่วนผสมของอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ มากมาย นอกจากจะเป็นอายุวัฒนะแล้วมาดูกันว่าสรรพคุณใบแปะก๊วยจะมีอะไรอีกบ้าง

  1. ช่วยด้านผิวพรรณ

นอกจากด้านการรักษาโรคแล้วสรรพคุณใบแปะก๊วยยังช่วยส่งเสริมในด้านความงามของผิวพรรณอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ร่วมกันกับชาเขียว เนื่องจากมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าหากนำชาเขียวไปผสมกับแปะก๊วยและนำไปทาผิว มันจะช่วยทำให้ผิวมีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้นและยังช่วยผลัดเซลล์ผิวได้อีกด้วยเช่นกัน หลาย ๆ คนคงอาจจะเคยเห็นว่าส่วนผสม 2 ชนิดนี้มักจะอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมความงามมากมายหลายประเภทเพราะมันช่วยฟื้นฟูผิวได้เป็นอย่างดี

  1. ลดการอุดตันของเส้นเลือด

สรรพคุณใบแปะก๊วย มีสรรพคุณคล้างกับที่มีในสมุนไพรโทะสามารถช่วยลดการเกิดการแข็งตัวของเลือดได้เป็นอย่างด และยังมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดีอย่าง LDL เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง โดยภาวะนี้จะเกิดจากการที่เส้นเลือดแดงเกิดการอุดตันและตีบลง เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ฯลฯ

  1. สรรพคุณใบแปะก๊วยช่วยโรคสมองเสื่อม

มีการศึกษาหลายชิ้นพบว่าใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์และทำให้ความจำดีขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้พบว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมักจะเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว

  1. ป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม

การทานใบแปะก๊วยสามารถป้องกันการเกิดโรคประสาทตาเสื่อมในระยะแรกได้เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ภายใน โดยโรคจอประสาทตาเสื่อมมักจะพบในผู้ที่มีอายุ 60+ เนื่องจากยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสสูญเสียสายตาที่เห็นส่วนตรงกลางทำให้จอประสาทตาถูกทำลายได้

  1. ช่วยด้านสมรรถภาพทางเพศ 

สรรพคุณใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปยังองคชาตได้ดีมากขึ้น จึงมีการศึกษาพบว่ามันอาจช่วยในเรื่องสมรรถภาพของเพศได้ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการทานยาต้านอาการซึมเศร้าที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ตาม หากรับประทานใบแปะก๊วยจะมีอาการดีขึ้นถึง 91% และ 76% ตามลำดับ

  1. ช่วยรักษาโรคต้อหินความดันตาปกติ 

โรคต้อหินความดันตาปกติ (Normal Tension Glaucoma – NTG) ใบแปะก๊วยสามารถรักษาได้ โดยมีการศึกษาพบว่าหากรับประทานในปริมาณ 40 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการดีขึ้นและมองเห็นได้ชัดขึ้น แต่หากผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีในอนาคตก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นและอาจทำให้ตาบอดได้

  1. ช่วยคลายความเครียด

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งได้ทดลองให้ผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลรับประทานใบแปะก๊วยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ร่วมกับอีกหนึ่งกลุ่มที่ให้ทานยาหลอก (Placebo) และพบว่าสารสกัดจากใยแปะก๊วยช่วยให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้รู้สึกสงบและมีอารมณ์ที่คงที่มากกว่าผู้ป่วยอีกหนึ่งกลุ่ม

  1. ช่วยรักษาหอบหืด

Platelet-activating factor (PAF) เป็นสารประกอบที่ร่างกายสร้างขึ้นมาและมันเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด แต่ก็มีงานวิจัยพบว่าใบแปะก๊วยสามารถเข้าไปปรับปรุงการทำงานของปอดและขวางกิจกรรมของ PAF ได้ จึงส่งผลให้มันมีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาอาการหอบหืด


โรคที่ไม่สามารถใช้ใบแปะก๊วยรักษาได้

สรรพคุณใบแปะก๊วย

  • การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ที่ใช้ยาต้านซึมเศร้า 

ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าการรับประทานใบแปะก๊วยสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็มีอีกงานวิจัยเปิดเผยอีกว่าสารสกัดของใบแปะก๊วยอาจช่วยไม่ได้ทั้งหมด มันอาจช่วยได้เพียงการเพิ่มความปรารถนาทางเพศได้แต่ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ได้ 

  • ผู้ที่มีปัญหาทางจิตที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด

งานวิจัยเปิดเผยว่าการรับประทานใบแปะก๊วยประเภท EGb 761 จำนวน 2 ครั้งต่อวัน ไม่สามารถช่วยป้องกันปัญหาทางจิตที่เกิดจากการรักษาประเภทนี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เริ่มทำเคมีบำบัด

  • โรคความดันโลหิตสูง

มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานใบแปะก๊วยประเภท EGb 761 นาน 6 ปี ไม่สามารถช่วยลดความดันโลหิตในผู้สูงอายุได้

  • โรคหูอื้อ

หูอื้อ  (Tinnitus) ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถรักษาอาการหูอื้อได้

  • โรคอารมณ์ตามฤดูกาล 

โรคความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal affective disorder หรือ SAD) แม้จะรับประทานใบแปะก๊วยเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็ไม่อาจป้องกันภาวะนี้ได้

  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยหรือที่เรียกว่า Ginkgolide B ไม่ได้ผลในการช่วยให้ความบ่อพร่องของผู้ที่เป็นโรคนี้ดีขึ้นได้ 

  • โรคหัวใจ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคหัวใจ การกินใบแปะก๊วย (EGb 761) ไม่สามารถช่วยลดโอกาสภาวะหัวใจวาย รวมถึงการเจ็บหน้าอกและหลอดเลือดที่สมองได้


ผลข้างเคียงของแปะก๊วย

สรรพคุณใบแปะก๊วย

  1. อาจเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังจากผลและเนื้อเยื่อภายใน ทำให้เกิดการระคายเคืองบนเยื่อเมือกบุผิว ส่วนใหญ่ผู้ที่แพ้รุนแรงมักเป็นจะเป็นผู้ที่ภูมิแพ้ต้นพอยซันไอวี่ (Poison ivy) หรือน้ำมันเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew shell)
  2. ส่วนใหญ่แล้วการทานใบแปะก๊วยปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากเมื่อมีการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่บางคนอาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ ท้องผูก หัวใจเต้นแรง หรือเกิดปฏิกิริยาแพ้บนผิวหนัง เป็นต้น
  3. แม้ว่าการรับประทานใบแปะก๊วยในปริมาณที่เหมาะสมจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่มันก็อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้เล็กน้อยสำหรับบางคนซึ่งจะก่อให้เกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกได้ หรือบางคนอาจจะเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
  4. ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่มาสนับสนุนว่าการนำไปแปะก๊วยไปทาบนผิวหนังนั้นปลอดภัยกับผู้ใช้งานหรือไม่
  5. การรับประทานเมล็ดแปะก๊วยในปริมาณที่มากเกินไปคือ 10 เมล็ดต่อวันอาจทำให้ชีพจรเต้นต่ำ หมดสติ และช็อกได้ นอกจากนี้การรับประทานแบบเผาหรือต้นแปะก๊วยดิบถือว่าไม่ปลอดภัยอีกเช่นเดียวกัน 
  6. เมล็ดแปะก๊วยสดก็ถือว่าไม่ปลอดภัยและอาจส่งผลขั้นรุนแรงจนเสียชีวิตได้ เนื่องจากเมล็ดแปะก๊วยสดมีพิษและอันตรายมากเกินกว่าที่จะสามารถรับประทานแบบสด ๆ ได้

ข้อควรระวัง

สรรพคุณใบแปะก๊วย

สรรพคุณใบแปะก๊วยแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเลี่ยงหลีกการรับประทานก็มีเช่นกัน คือ 

-เด็กและทารก : มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าสารสกัดใบแปะก๊วยอาจมีความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กเมื่อได้รับประทานในระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้เมล็ดแปะก๊วยสดเด็กไม่ควรรับประทานเนื่องจากเป็นอันตรายและส่งผลทำให้เด็กอาจเกิดอาการชักและเสียชีวิตได้

-ผู้ให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ : การรับประทานแปะก๊วยในขณะที่ตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกเพิ่มากขึ้นขณะที่กำลังคลอดได้ รวมถึงผู้ที่ให้นมบุตรก็อาจเกิดอันตรายต่อเด็กได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรงดการกินแปะก๊วยในระหว่างที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไปก่อน

-โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (Deficiency of the enzyme glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) ) : สารสกัดของแปะก๊วยอาจก่อให้โลหิตจางรุนแรงในผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนมากนัก ซึ่งทางที่ปลอดภัยผู้ป่วยภาวะนี้ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน

-ผู้ป่วยภาวะเลือดออกผิดปกติ : ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติเมื่อรับประทานแปะก๊วยแล้วอาจทำให้อาการทรุดลงได้ ดังนั้นควรงดรับประทาน

-ผู้ป่วยเบาหวาน : การรับประทานแปะก๊วยในผู้ป่วยเบาหวานอาจส่งผลต่อการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วยได้ หากต้องการรับประทานควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อน

-โรคชัก : สรรพคุณใบแปะก๊วยอาจส่งผลให้บางคนเกิดอาการชักได้ ผู้ที่เคยมีอาการชักมาก่อนควรงดรับประทาน

-การผ่าตัด : ผู้ที่กำลังเข้ารับการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดไม่ควรรับประทานใบแปะก๊วยเพราะอาจทำให้เลือดไหลออกมามากกว่าปกติได้

-ภาวะมีบุตรยาก : คุณสมบัติของใบแปะก๊วยอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ยากขึ้น ผู้ที่มีบุตรยากหรือวางแผนกำลังจะมีบุตรไม่ควรใช้ใบแปะก๊วย


แม้ว่าใบแปะก๊วยจะเป็นสมุนไพรจากจีนที่แพทย์แผนจีนใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่มันด็ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะสรรพคุณใบแปะก๊วยอัดแน่นมาทุกอณูทั้งช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายภายใน รวมถึงดูแลสุขภาพผิวภายนอกได้อีกด้วย ปัจจุบันผู้ที่รักสุขภาพหรือต้องการดูแลด้านความงาม มักจะหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของใบแปะก๊วยมารับประทานกัน แต่นอกจากการกินใบแปะก๊วยแล้วหากต้องการมีสุขภาพดีแบบครบด้านอย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานผัก ผลไม้ รวมถึงอาหารที่มีประโยชน์ด้วย


อ้างอิง :

https://hdmall.co.th/pharmacies-chat/supplement-ginkgo 

http://www.fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/2016-04-26-06-50-20/food-news-main-menu-3/fic-food-news-menu/601-food2-20-08-2018