โรคมะเร็งมีกี่ระยะ วิธีดูแล ในแต่ระยะ ที่คุณควรรู้
โรคมะเร็งมีกี่ระยะ วิธีดูแล ในแต่ระยะ ที่คุณควรรู้ อย่างที่ทราบกันดีว่า “มะเร็ง” คือภัยเงียบที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้ทุกเพศ ทุกวัย นับไล่ตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงในคนสูงอายุ ซึ่งเราสามารถจัด 10 อันดับโรคมะเร็งที่พบทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยเรียงจากอันดับแรกที่พบมากที่สุด คือ
ผู้ชาย : โรคมะเร็งตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กระเพาะปัสสาวะ ช่องปาก กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร
ผู้หญิง : โรคมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ รังไข่ เม็ดเลือดขาว ช่องปาก ต่อมไทยรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง
ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งยังไม่มีการยืนยันว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ แต่เราสามารถสรุปสั้นๆได้ว่า โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่อยู่ในร่างกายมีความผิดปกติ และเซลล์เหล่านี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้
ฉะนั้นเซลล์เหล่านี้จึงลุกลามและแพร่กระจายไปได้ทั่วร่างกายจนกระทั่งส่งผลไปยังเซลล์ปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆเกิดอาการล้มเหลวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สุดท้ายกลายเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าระหว่างโรคมะเร็งกับโรคเนื้องอกมีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ซึ่งสามารถจำแนกได้ง่ายๆ ดังนี้
โรคมะเร็ง : เมื่อร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้นจากสารก่อมะเร็ง อาทิ สารเคมี ไวรัส รังสี สารเหล่านี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยาให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง จนท้ายสุดเซลล์ปกติก็กลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง หากว่าระบบต้านทานของร่างกายไม่สามารถที่จะทำลายเซลล์พวกนี้ได้ เซลล์มะเร็งก็จะแพร่กระจายทั่วร่างกายโดยจะเข้าทางน้ำเหลือง,กระแสเลือด เป็นต้น
โรคเนื้องอก : เกิดก้อนเนื้อผิดปกติปูดบวมขึ้นมา โดยจะค่อยๆโตขึ้น ไม่ลุกลามไปตามเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง อาจจะเพียงแค่เข้าไปกดหรือเบียดเมื่อก้อนเนื้อเริ่มโตขึ้น แต่ไม่ส่งผลลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งไม่แพร่กระจายไปตามกระแสน้ำเหลืองและกระแสเลือด การรักษาก็เพียงแค่เข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น
สำหรับอาการของโรคเราสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ โดยโรคมะเร็งมีกี่ระยะนั้น จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค (หมายถึงการลุกลามและแพร่กระจาย) แนวทางที่จะใช้รักษา และแพทย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิจัยศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
ตามปกติแล้ว โรคมะเร็งจะมี 4 ระยะ ด้วยกัน คือ ระยะที่ 1-4 และอาจสามารถแยกย่อยลงไปอีกเป็น เอ บี ซี หรือ หนึ่ง สอง ซึ่งแพทย์จะนำประโยชน์จากตรงนี้ไปใช้ในการประเมินรักษา ส่วนโรคมะเร็งที่อยู่ในระยะ 0 เรายังไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งเสียทีเดียว เพราะเซลล์ยังอยู่ในรูปแบบเป็นเพียงมะเร็งเริ่มต้ม แต่ยังไม่มีการลุกลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย
· โรคมะเร็งระยะแรก ระยะที่ 1 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งที่มีขนาดเล็ก และยังไม่มีเกิดการลุกลาม
· มะเร็งระยะที่ 2 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งที่เริ่มมีขนาดโตใหญ่ขึ้น รวมทั้งลุกลามเข้าไปภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ
· มะเร็งระยะที่ 3 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าระยะที่ 2 เริ่มลุกลามไปตามเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง อีกทั้งยังลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
· ระยะที่ 4 มะเร็งระยะสุดท้าย : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งที่มีขนาดใหญ่โตมาก มีการลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงเป็นผลให้ทะลุ หรือเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงกับก้อนมะเร็ง จนสามารถคลำเจอได้ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ต่อมเดียวอาจพบได้ในหลายๆต่อม พร้อมกับแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต หรือหลอดน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างออกไป อย่าง ปอด ตับ สมอง กระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ช่องอก เป็นต้น
เมื่อทราบแล้วว่าโรคมะเร็งมีกี่ระยะไปแล้ว คราวนี้เราลองดูแนวทางการรักษากันดูบ้างว่า สามารถรักษาในวิธีการอย่างไร???
1. หากตรวจพบโรคมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกๆย่อมเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ซึ่งจะมีแนวทางการรักษา คือ
– การผ่าตัด ด้วยการตัดก้อนมะเร็งร้ายออกไปจากร่างกาย
– รังสีรักษา เป็นการใช้คลื่นรังสีกำลังสูง เพื่อเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็ง
– เคมีบำบัด คือการใช้ยาในรูปแบบสารเคมี เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
– ฮอร์โมนบำบัด คือการใช้ฮอร์โมน เพื่อเข้าไปยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย
– รักษาในรูปแบบผสมผสาน ด้วยการรักษาร่วมกันทุกวิธีที่กล่าวมา แต่การจะเลือกใช้วิธีใดบ้างนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรคเป็นองค์ประกอบ
2. ในการรักษาโรคมะเร็งอาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือวิธีเดียว หรือหลายวิธีรวมกัน แต่ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆเหล่านี้
– ระยะของโรคมะเร็ง
– ชนิดของเซลล์มะเร็งที่แฝงอยู่ในร่างกาย
– เกิดมะเร็งที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนใด
– สามารถผ่าตัดได้หรือไม่ หรือหากผ่าตัดไปแล้วจะยังคงหลงเหลือก้อนมะเร็งหรือไม่
– อายุ
– สุขภาพของผู้ป่วย
3. โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ คือ
– ระยะของโรคมะเร็ง
– ชนิดของเซลล์มะเร็ง
– สามารถผ่าตัดได้หรือไม่ ถ้าผ่าตัดได้ จะนำก้อนมะเร็งออกไปได้ทั้งหมดหรือไม่
– ชนิดของมะเร็งเป็นประเภทดื้อยา รังสีรักษา หรือ ยาเคมีบำบัดบ้างหรือเปล่า
– ความแข็งแรง และความพร้อมของร่างกายผู้ป่วย
– อายุ
ฉะนั้นหากใครไม่อยากต้องเผชิญกับโรคร้ายนี้ จึงควรหาวิธีป้องกัน โรคมะเร็ง เป็นทางออกที่ดีที่สุด นั่นคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งที่สำคัญ ได้แก่
– ในแต่ละมื้ออาหารของทุกวันควรกินให้ครบทั้ง 5 หมู่ อาหารชีวจิตป้องกันมะเร็ง และอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่ผอมหรืออ้วนมากเกินไป รวมทั้งการจำกัดเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ
– หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– พยายามตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะได้เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดด้วยเช่นกัน
– หากพบว่าอะไรที่เป็นก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ให้หลีกเลี่ยงอย่าไปสัมผัสโดยตรง
ซึ่งถ้าคุณสามารถทำได้ตามนี้รับรองเลยว่าชีวิตนี้จะห่างไกลจากโรคมะเร็งอย่างแน่นอนค่ะ