พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 วิธีช่วยให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 วิธีช่วยให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์ มีข้อมูลที่บ่งชี้มากมายในปัจจุบัน ว่าการกระตุ้นครรภ์นั้นสามารถช่วยพัฒนาการทางสมองของทารกได้ ซึ่งนั่นคือที่มาของบทความนี้ เพื่อให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้กับทารกได้อย่างถูกวิธี และได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ
พัฒนาการเด็กในครรภ์ ควรเริ่มกระตุ้นเมื่อไรดี ?
จะกระตุ้นพัฒนาการเด็กในครรภ์ให้สมองดีได้อย่างไร? จากจุดเริ่มต้นของการกำเนิดตั้งแต่อสุจิเดินทางเข้ารังไข่ และเกิดสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อันน่าอัศจรรย์ ทุกเซลล์จะเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเซลล์สมอง ตั้งแต่อายุประมาณ 8 สัปดาห์ขึ้นไป ทุกอวัยวะจะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องอย่างมาก เพราะฉะนั้นคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองด้วยวิธีต่างๆ โดยเริ่มจาก 8 สัปดาห์ของอายุครรภ์ จะดีที่สุด
ความฉลาดของเด็กนั้นประกอบด้วย 3 ส่วน กรรมพันธุ์ อาหาร และสิ่งแวดล้อม
1. กรรมพันธุ์ จะถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่
2. อาหารที่คุณแม่ทานขณะตั้งครรภ์
3. สภาพแวดล้อมที่อาศัยขณะตั้งครรภ์
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่สามารถช่วยพัฒนาการทางสมองของทารกได้เช่นกัน โดยเป็นวิธีการดูแลปฏิบัติต่อครรภ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก และคุณแม่ทุกคนสามารถทำได้
1.กระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยอารมณ์
ผลทางการแพทย์บ่งชี้ว่า เมื่อเรามีความสุขร่างกายจะหลั่งสาร เอนดอร์ฟิน และจะส่งผ่านทางสายสะดือไปสู่ทารก ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง และจิตใจ ส่งผลต่อการเติบโต และการเลี้ยงดู ทำให้เลี้ยงง่ายไม่งอแง มีการเติบโตทางด้าน IQ และ EQ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกฉลาดดกว่าเด็กทั่วไปที่คุณแม่อารมณ์เสียบ่อยๆ ในขณะตั้งท้อง
2.ให้เด็กมีความจำที่ดีด้วยการฟังเพลง
ความสุนทรีของเสียงเพลง ย่อมสร้างสิ่งที่ดีงามในทุกสิ่งที่มันได้สัมผัส เมื่อทารกในครรภ์อายุได้ประมาณ 5 เดือน พวกเขาจะเริ่มมีระบบประสาทการรับฟัง เน้นเพลงที่คุณแม่ชอบเป็นอย่างแรก เพลงเบาสบายเหมาะแก่การผ่อนคลาย ไม่จำต้องเน้นเพลงคลาสิคที่ไม่ชอบ เพราะจะผลทางด้านอารมณ์ของตัวคุณแม่ แล้วจะส่งต่อไปยังลูกน้อย
ขณะฟังเพลงควรเปิดห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต เสียงเพลงจะกระตุ้นการทำงานด้านการได้ยินให้พัฒนาได้ไวขึ้น ส่งผลให้เด็กมีความจำที่ดี จัดลำดับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย
3.พูดคุยกับลูก
การพูดคุยถือเป็นเรื่องที่เบสิคที่สุด ที่แม่ทุกคนควรทำ ควรใช้น้ำเสียงที่อ่อนนุ่ม และพูดคุยเรื่องทั่วไป แต่ห้ามคุยเรื่องที่จะทำให้เกิดความเครียด การพูดคุยจะช่วยให้เด็กจดจำ ชินกับเสียงของแม่ และเลี้ยงง่าย
4.ลูบหน้าท้องสร้างการรับรู้
ลูบหน้าท้องลูกบ่อยๆสร้างการรับรู้ ช่วยในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนของการรับรู้ ควรลูบท้องเป็นวงกลม เบาๆ บ่อยๆ ถือว่าเป็นสัมผัสแรกที่เต็มไปด้วยรัก ที่คุณแม่มีให้คุณลูกได้อย่างดีนะค่ะ
5.ส่องไฟที่หน้าท้อง
โดยประมาณแล้วอายุครรภ์ตั้ง 7 เดือนขึ้นไป ทารกจะสามารถรับรู้เรื่องแวง และกระพริบตาได้เมื่อถูกกระตุ้น ส่วนการรับภาพ และสมองจะพัฒนาเร็วขึ้น แต่ไม่ต้องถึงขนาดเอาไฟฉายทาบหน้าท้องนะครับ ส่องห่างๆ อย่างห่วงๆ ก็พอ
6.ออกกำลังกาย ให้ระบบประสาทสัมผัสถูกพัฒนา
การออกกำลังถือว่าสำคัญมาก คุณแม่ทุกคนควรออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ และในขณะที่ออกกำลังกาย ผิวของลูกจะกระทบเข้ากับผนังท้องด้านในตามการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ระบบประสาทสัมผัสถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว
7.เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
สิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และคุณแม่จะพลาดไม่ได้เด็ดขาดคือ เรื่องการทานอาหาร เพราะการทานทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกับอีกชีวิตในท้องทั้งหมด
โดยทางที่ดีที่สุดในการทานอาหารคือ เลือกอาหารที่สามารถพัฒนา อาหารเสริมเด็ก และบำรุงสมองของทารกได้ดีที่สุด โดยสารอาหารที่ทารกควรได้รับนั้น มีดังนี้ และ 2 สารอาหารที่ต้องเน้นเป็นพิเศษคือ
1.โอเมก้า 3
กรดโอเมก้าเป็น กรดไขมันที่ส่วนใหญ่สามารถหาได้จากปลาทะเล และรวมไปถึงหอยทะเลบางชนิดอีกด้วย ซึ่งโอเมก้าก็จะมีส่วนช่วยที่สำคัญในการเพิ่มการบำรุงสมอง เพิ่มทักษะความจำ และยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นสมอง ซึ่งการทาน คุณแม่อาจจะทานในช่วงที่ทารกอยู่ในระยะเวลา ตั้งเดือนที่ 3 ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ก็ควรคำนึงถึงสารปนเปื้อน เพราะมีโอกาสสูงมากเลยทีเดียวที่ปรอมจะปะปนเข้ามากับอาหารทะเล
ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะเป็นอันตรายกับแม่และลูกนั้น คือ ปลาฉลาม ปลาอินทรี ปลาเก๋า ฯลฯ ซึ่งยังมีปลาอีกมากมายหลายประเภทที่จะให้สารปรอทเพิ่มมากขึ้น
2.กรดโฟลิก
กรดโฟลิกหรืออีกชื่อหนึ่งคือ โฟเลต เป็นสารอาหารที่สามารถสร้างเซลล์สมองให้กับทารกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาเซลล์ประสาท และช่วยสร้างไขสันหลังในทารกให้อีกด้วย ท้องกินอะไรลูกฉลาด แนะนำว่าควรรับตั้งแต่ตั้งท้องอ่อนได้เลย เพราะถ้าไม่เพิ่มโฟเลตเข้าไป ร่างกายจะดึงสารอาหารที่มีอยู่ในตัวคุณแม่ออกมา
ซึ่งนอกจากจะทำให้สุขภาพคุณแม่ย่ำแย่ลงแล้ว ยังทำให้ทารกไม่สามารถพัฒนาเซลล์สมองและสร้างประสาทไขสันหลัง ผลที่เกิดขึ้นคือ อาจจะทำให้ทารกมีความผิดปกติทางสมองและประสาทได้ โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตคือ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียว