ท้องในวัยเรียน ต้องทำยังไง ?
ท้องในวัยเรียน เพราะเรื่องรักมันห้ามกันไม่ได้ หลายคนอาจจะเกิดความผิดพลาดในการป้องกัน คุณอาจกำลังตกอยู่ในช่วงที่ไร้ทางออก โลกทั้งใบกำลังกดทับจนคุณรู้สึกว่าตัวเล็กมาก แต่คุณอย่าลืมว่ามีสิ่งหนึ่งที่งดงาม กำลังพลิบานอยู่ในตัวคุณ ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยเวลา สิ่งที่มหัศจรรย์ และความสุขอีกมากมายกำลังรอคุณ เพียงแค่ผ่านพ้นเรื่องเหล่านี้ไป
ท้องในวัยเรียน ควรทำอย่างไร วิธีรับมือ ที่จะจัดการชีวิตของคุณได้มองเห็นความสุขเล็กๆ ที่ซ่อน
เมื่อรู้ว่าท้อง
การรับรู้ว่าตัวเองท้อง ในขณะที่กำลังอยู่ในวัยเรียน ถือว่าเป็นปัญหาหนัก ปัญหาที่คุณสามารถแก้ไขคนเดียวได้ มองหาคนที่รักเป็นอันดับแรก พวกเขาพร้อมจะรับฟังแม้บางครั้งมาพร้อมคำตำหนิ สิ่งที่คุณควรลำดับต่อมาคือการฝากครรภ์ ซึ่งมีการตรวจสุขภาพต่างๆ ของผู้ที่เป็นแม่ เช่นโรคทางพันธุกรรม โรคเด็ก และอายุครรภ์ เป็นต้น
การตัดสินใจ
การตัดสินใจนี้แบ่งเป็น 2 กรณี คือเลี้ยงลูกเอง กับไม่มีความสามารถ และความพร้อมมากพอจะดูแลเด็ก
กรณีที่ 1 ตัดสินใจเลี้ยงลูกเอง
ขั้นแรกควรบอกผู้ใหญ่ให้รู้ จากนั้นใครจะจัดงานตามประเพณีใหญ่โต หรือเล็กน้อย ตามกำลัง และความต้องการ อันนี้ก็แล้วแต่ แต่ถ้าไม่จัด หรือไม่มีกำลังพอจะจัดงานอะไรก็ไม่เป็น เพราะเป็นเพียงค่านิยมที่ไม่มีผลต่อเด็กท้อง สิ่งสำคัญคือเด็กในท้อง และตัว เรื่องการจัดงานมันจะเป็นเรื่องเล่าในวงสนทนาไม่เกินสามเดือนเท่านั้น
จากนั้นดูการวางแผน ว่าเราสามารถเรียนต่อได้ไหม จะดรอปช่วงไหน สมัยนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าอายแล้ว คุณแม่ที่พลาดท้องในวัยเรียน และพยายามเรียนควบคู่กับเลี้ยงลูกไปด้วย เป็นอะไรที่น่าภูมิใจมาก ถึงแม้ว่าเราพลาด แต่เราก็พยายามแก้ไขให้ดีที่สุด นอกจากนี้อย่าลืมวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายเช่น ค่าคลอด ของใช้เด็ก เป็นต้น
กรณีที่ 2 หากไม่สามารถเลี้ยงดู
ในกรณีนี้นอกจากการทำแท้งแล้ว ทางออกของปัญหายังมีอีกวิธีหนึ่งคือ โทรไปเบอร์ 1663 จะเป็นสายด่วนที่ให้คำปรึกษาสำหรับคนที่ท้องแต่ไม่มีความพร้อม และ 02-929-2222 สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี นอกจากนี้ยังมีบ้านพักฉุกเฉินอีกหลายที่ที่ให้การดูแล
ในกรณีที่คลอดออกมาเลย
และไม่สามารถเลี้ยงดู สามารถหาครอบครัวอุปถัมภ์ โดยติดต่อไปที่ ศูนย์บุตรบุญธรรม , สหทัยมูลนิธิ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ครอบครัวที่ไร้บุตรแต่ต้องการอุปถัมภ์ได้นำไปดูแล
เราสามารถดูแลเขาได้ไหม
ท้องในวัยเรียน ตัวคุณแม่อายุอาจจะยังน้อย และยังไม่มีความพร้อมที่มากพอ แต่หากว่าตั้งใจที่จะดูแล เราเชื่อว่าคุณสามารถทำได้ทุกคน โดยการดูแลเด็กนั้น มี 4 อย่างที่ต้องคำนึง ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ
1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด เด็กต้องได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานในเรื่องของสุขภาพ สันติภาพ และความปลอดภัย
2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา ต้องได้รับการศึกษาขั้นต่ำตามกฎหมายระบุ มีอาหารที่พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตสมวัย และต้องมีครอบครัวที่อบอุ่น
3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ต้องอยู่สภาวะที่ไม่มีการคุกคามจากภายนอก ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ เช่นการล่วงละเมิด การหาประโยชน์จากตัวเด็ก การใช้แรงงานอันไม่สมควรตามวัย
4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม เด็กได้รับโอกาสต่างในการ คิด พูด ฟัง มีส่วนร่วมในการตัดสินในเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง
ที่มา สสส. กระทรวงศึกษาธิการ และ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)