ประจำเดือนไม่มา รู้ทัน แก้ไข บรรเทา ทุกรายละเอียด
ประจำเดือนไม่มา รู้ทัน แก้ไข บรรเทา ทุกรายละเอียด เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะมีประจำเดือนกันทุกคน ช่วงอายุที่เด็กผู้หญิงเริ่มเป็นสาวและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เริ่มมีประจำเดือนกันในครั้งแรกก็คือช่วงอายุตั้งแต่อายุประมาณ 11-15 ปี แต่บางกรณีอาจจะพบเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนไวกว่าเด็กคนอื่น ๆ คือมีประจำเด่อนตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ
แต่ก็ถือว่าพบได้น้อยมากและไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด ในกรณีที่เด็กหญิงต่ำกว่า 8 ขวบเกิดมีประจำเดือน แพทย์จะมีแนวทางและวิธีดูแลควบคุมฮอร์โมนไม่ให้เจริญก่อนวัย ในปัจจุบันการเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และเริ่มมีประจำเดือนของผู้หญิงร่นอายุขึ้นมาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากอาหารการกินและการใช้ชีวิตนั่นเอง ในรุ่นย่ารุ่นยายเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนกันในช่วงอายุ 14-16 ปี ปัจจุบันอายุโดยเฉลี่ยที่เด็กหญิงมีประจำเดือนครั้งแรกคือ 12 ปีกับ 7 เดือน
และในภาคเหนือจะพบว่าเด็กผู้หญิงมีประจำเดือนโดยเฉลี่ยเร็วกว่าเด็กหญิงภาคอื่น ๆ และเด็กหญิงภาคใต้จะมีประจำเดือนโดยเฉลี่ยช้าที่สุด สำหรับเด็กผู้หญิงยุคนี้แล้ว หากยังไม่มีประจำเดือนเมื่ออายุเกิน 15 ปีแล้ว อาจจะเกิดความผิดปกติเป็นภาวะมีประจำเดือนช้าได้ ประจำเดือนไม่มา (Missed period) หรือ ภาวะการขาดประจำเดือน (Amenorrhea)
ก่อนที่เราจะมาเข้าใจถึงประเภทของภาวะประจำเดือนไม่มา สาเหตุและวิธีการแก้ไขรักษา เรามาทำความรู้จักกับกลไกการมีประจำเดือนกันก่อนให้ชัดเจน ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีประจำเดือนปกติ นั่นหมายถึงเธอมีระบบโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่สมบูรณ์ไม่มีส่วนใดผิดปกติบกพร่อง มีระบบโครงสร้างของการผลิตฮอร์โมนเป็นปกติ
ฮอร์โมนที่ชื่อว่า GNRH (Gonadrotropin releasinghormone ) เป็นฮอร์โมนหลักที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและการเจริญพันธุ์ จะหลั่งออกมาจากส่วนลึกขอลส่วนสมองที่อยู่ในส่วนของสมองใหญ่ ทำหน้าที่ไปกระตุ้นตรงเนื้อเยื่อส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง ให้เกิดการผลิตฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH เจ้าฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกันกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน เยื่อบุโพรงมดลูกของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะหนาตัวขึ้น รอรับการฝังตัวของตัวอ่อนในกรณีที่เกิดการปฎิสนธิของไข่และอสุจิเพื่อเตรียมพร้อมในกระบวนการตั้งครรภ์ของผู้หญิง
แต่ถ้ากระบวนการการผสมของไข่และอสุมิไม่เกิดขึ้น ไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก ฮอร์โมนสองตัวนี้ก็จะลดระดับปริมาณลงเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาก็จะหลุดลอกออกจากผนังมดลูก พร้อมกับหลอดเลือดภายในโพรงมดลูกบางส่วนบริเวณนี้ก็เกิดการฉีกขาดด้วย จึงเกิดเป็นเลือดประจำเดือน
การเกิดของเลือดประจำเดือนนอกจากกระบวนการดังกล่าวจะมีขั้นตอนสมบูรณ์แล้ว องค์ประกอบอวัยวะสืบพันธุ์ ทั้งมดลูก ปากมดลูก และช่องคลอดจะต้องอยู่ในสภาวะปกติที่จะให้ประจำเดือนได้ไหลออกด้วย จึงจะทำให้ผู้หญิงมีประจำเดือนไหลออกมา
กระบวนการนี้กินเวลาเท่ากับ 1 รอบประจำเดือน ดังนั้นการมีประจำเดือน หรือ Menstruation ก็คือการมีเลือดประจำเดือนหลั่งออกมาเป็นประจำทุกเดือนนั่นเอง สำหรับความผอดปกติของภาวะการขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา มีด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ ๆ ก็คือ
1. ประจำเดือนไม่เคยมาเลย
มีผู้หญิงส่วนน้อยและหาพบได้ยากที่เมื่อถึงวัยจะต้องมีประจำเดือนครั้งแรกแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีประจำเดือนเลย ทางการแพทย์เรียกกันว่า ภาวะการขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าปกติแล้วผู้หญิงไทยจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่ช่วงอายุ 9 ปี ถึง 18 ปี แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี หากเด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีร่างกายแข็งแรงไม่ได้เป็นโรคประจำตัวหรือมีภาวะอ่อนแอเจ็บป่วยขี้โรค
เมื่ออายุถึง 15 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือนครั้งแรก ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดภาวะประจำเดือนไม่มา หรือภาวะขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ แพทย์จะวินิจฉัยโดยสังเกตประกอบกับการดูลักษณะทางเพศของเด็กหญิงว่า อายุมากกว่า 13 ปีโดยปกติร่างกายจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงคือ สะโพกเริ่มผาย เต้านมขยายใหญ่ขึ้น มีขนขึ้นรักแร้และในร่มผ้า
การที่เด็กหญิงเมื่อถึงวัยมีประจำเดือนแล้ว แต่ประจำเดือนไม่มา อาจจะเกิดจากความผิดปกติของร่างกายได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติทางกายวิภาคและสรีระ อาจจะมีความไม่สมบูรณ์ในอวัยวะระบบสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ไม่ครบสมบูรณ์ ช่องคลอดตีบผิดปกติมาแต่กำเนิด ไม่มีมดลูกหรือไม่มีรังไข่ เยื่อพรหมจารีย์ไม่เปิด เนื่องจากต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เยื่อพรหมจารีย์ของผู้หญิงจะอยู่ภายในช่องคลอดกั้นอยู่ภายในช่องคลอด
โดยปกติแล้วจะมีช่องว่างเปิดให้ประจำเดือนไหลได้ แต่ถ้าเกิดความผิดปกติคือเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีช่องเปิด แม้ว่าจะมีการผลิตฮอร์โมนและกระบวนการต่าง ๆ ตามปกติและมีประจำเดือน แต่ก็จะอุดตันสะสมอยู่ในมดลูกไม่สามารถไหลออก จึงไม่มีประจำเดือน ความผิดปกติภายในระบบสืบพันธุ์หญิงนั้นไม่สามารถที่จะทราบมาก่อนในวัยเด็ก จะพบก็ต่อเมื่อถึงวัยรุ่นและมีความผิดปกติในการเจริญพันธุ์เช่นนี้นั่นเอง
ประจำเดือนไม่มาหรือขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิยังมีสาเหตุจากความผิดปกติของร่างกายอีกก็คือ เกิดจากภาวะต่อมเพศไม่เจริญเติบโต หรือภาวะรังไข่ไม่เจริญเติบโต อาการผิดปกตินี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม คือผิดปกติที่โครมาโซม อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ในผู้หญิงจะมีโครมาโซม X อยู่ 2 แท่ง แต่คนที่มีความผิดปกติโครมาโซมเกี่ยวเนื่องกับระบบสืบพันธุ์แบบนี้จะมีโครมาโซม X เพียงแท่งเดียวทำให้ต่อมเพศหรือ รังไข่ไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์และจะไม่มีประจำเดือนตลอดช่วงชีวิต เกิดภาวะเป็นหมัน หรืออาจจะมีลูกยากมากได้ ทางการแพทย์เรียกความผิดปกติเช่นนี้ว่า กลุ่มอาการ เทอร์เนอร์ ( Turner syndrome )
ความผิดปกติในแบบต่อมาที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาตั้งแต่ครั้งแรกก็คือ ร่างกายไม่สร้างระบบท่อที่เรียกว่า ท่อมูลเลอร์เลียน (Mullerian agenesis) ภาวะความผิดปกติที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาด้วยสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นและพบได้บ่อยรองมาจากการที่รังไข่ไม่เจริญ เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อในร่างกาย ตั้งแต่ครั้งที่เป็นตัวอ่อน มีเนื้อเยื่อที่ชื่อว่ามูเลอร์เลียน ดรักส์ ที่เกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เติบโตพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อสมบูรณ์และเติบโตเป็นมดลูกเมื่อโตถึงวัยเจริญพันธุ์ แต่สำหรับกรณีนี้เนื้อเยื่อกลับหยุดพัฒนาและไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น ความผิดปกตินี้อาจจะผิดปกติทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วน แต่ว่าเกิดขึ้นภายในร่างกายจึงดูภายนอกไม่สามารถทราบได้
ความผิดปกติที่เกิดจากอาการต่อต้านแอนโดรเจน เป็นความผิดปกติในรูปแบบของยีนส์ที่เกิดการกลายพันธุ์ ( Androgen Insensitivity syndrome ) ยีนส์ตัวที่มีหน้าที่สร้าง แอนโดรเจน รีเซฟเตอร์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ มีความผิดปกติในการสร้างโครมาโซม ผู้หญิงปกติจะมีโครมาโซมคู่เป็น XX แต่สำหรับกรณีนี้กลับเป็น XY จึงทำให้ไม่มีการสร้างมดลูก แต่ภาพรวมสรีระและร่างกายทุกอย่างยังคงเป็นหญิงเมื่อมองดูโดยรวม
สาเหตุความผิดปกติของประจำเดือนไม่มาในแบบปฐมภูมิสาเหตุสุดท้ายก็คือ การเป็นมะเร็งสมองหรือเนื้องอกในสมอง เนื้องอกทั้งเนื้อทั่วไปและเนื้อร้ายงอกมากดบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับระบบการทำงานควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และประจำเดือน ทำให้ไม่มีประจำเดือน
2. ประจำเดือนขาด
การขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มาของผู้หญิงทั่วไปที่เคยมีประจำเดือนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นมีกรณีที่เกิดการขาดช่วงการมีประจำเดือนไป นับว่าเป็นภาวะการขาดประจำเดือนที่แพทย์เรียกว่าเป็นภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ การจะนับว่าผู้หญิงคนไหมมีการขาดประจำเดือนในแบบภาวะทุติยภูมินั้นต้องดูในรายละเอียดหลายประการก็คือ
หากเป็นในวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนไปแล้ววครั้งแรก หลังจากนั้นประจำเดือนไม่มาขาดหายไปช่วงหนึ่ง อาจจะ 1 เดือน 2 เดือนหรือบางคนครึ่งปี นับว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร เพราะในช่วงแรกของการมีประจำเดือน การปรับระบบและการปรับบสมดุลย์ฟังชั่นของรังไข่และฮอร์โมนอาจจะยังไม่คงที่และยังไม่สมบูรณ์
แต่หลังจากนั้นประจำเดือนก็จะมาเป็นปกติ หรือในผู้หญิงทั่ว ๆ ไปที่เป็นสาวแล้วเกิดมีภาวะประจำเดือนไม่มาถ้าขาดไป1ถึง 3 เดือนและมาอีกในช่วงเดือนที่ 4 ก็ยังไม่นับว่าเป็นการขาดประจำเดือนในแบบทุติยภูมิเช่นกัน การขาดประจำเดือนที่อยู่ในภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิจะนับที่การขาดประจำเดือนมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปติดต่อกัน
การที่ประจำเดือนไม่มาในรูปแบบทุติยภูมินี้ แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลักใหญ่ ๆ คือ การขาดประจำเดือนแบบตามธรรมชาติ และการขาดประจำเดือนเพราะพยาธิสภาพหรือความเจ็บป่วย ผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย
2.1 การขาดประจำเดือนแบบธรรมชาติ
การขาดประจำเดือนมนแบบธรรมชาติก็อย่างที่เราทราบกันอยู่โดยทั่วไปเป็นปกติธรรมดาก็คือการตั้งครรภ์นั่นเอง เมื่อผู้หญิงมีภาวะตั้งครรภ์ ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิผสมกับไข่ในรังไข่ของผู้หญิง เกิดปฎิสนธิขึ้นและเคลื่อนไปฝังตัวอยู่ตรงผิวหนังเยื่อบุโพรงมดลูก ก็เป็นการตั้งครรภ์แล้วร่างกายจึงไม่มีการหลุดลอกของผนังมดลูกจึงไม่มีเลือดประจำเดือนออกมานั่นเอง
และร่างกายของผู้หญิงจะเกิดภาวะขาดประจำเดือนไปประมาณ 10 เดือนเป็นอย่างต่ำ หลังจากคลอดลูกแล้ว หรือประจำเดือนหลังผ่าคลอด ร่างกายก็ยังไม่เกิดการหลั่งประจำเดือนไปอีกประมาณ 1-3 เดือนโดยประมาณ หรือในช่วงแรกที่ให้นมบุตร อีกกรณีก็คือประจำเดือนไม่มาเนื่องจากเป็นวัยหมดประจำเดือนหรือเข้าสู่วัยทองนั่นเอง
การเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนโดยเฉลี่ยของผู้หญิงไทย ประจำเดือนไม่มาถาวรอยู๋ที่อายุประมาณ 45-50 ปี
แต่ในผู้หญิงบางคนอาจจะพบว่าประจำเดือนหยุดมาในอายุที่น้อยกว่านั้น อาจเป็นไปได้ว่าตั้งแต่อายุ 40 ปีขั้นไป สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มาในอายุน้อยกว่า 40 ปีควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค เพราะอาจจะไม่ใช่การขาดประจำเดือนเนื่องจากวัยทอง หรือก้าวเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ [ ถุงยางแตก ]
2.2 การขาดประจำเดือนแบบพยาธิสภาพหรือเจ็บป่วย
การขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มาที่ไม่ใช่สาเหตุปกติธรรมชาติ แต่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่าง ๆ นั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุคือ
2.2.1 เกิดจากภาวะของจิตใจ
ความเครียดความสะเทือนใจต่าง ๆ โรคอารมณ์แปรปรวน คิดมาก เป็นโรควิตกกังวล มีผลต่อระดับฮอร์โมนและการทำงานของต่อมฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ประจำเดือนไม่มาและหลายกรณีก็ส่งผลถึงความต้องการทางเพศที่ลดลงหรือหมดความต้องการทางเพศด้วย
2.2.2 เกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนินหรือฉีดยาคุมกำเนินติดต่อกันนาน ๆ
โดยเฉพาะการฉีดยาคุมกำเนิดจะทำให้ระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับรังไข่แปรปรวน ทำให้ประจำเดือนขาดไปเป็นเวลานาน
2.2.3 เกิดจากมีถุงน้ำในรังไข่หลายถุง
เมื่อพบว่ามีถุงน้ำเกิดขึ้นในรังไข่หลาย ๆ ถุงจะส่งผลให้การทำงานของรังไข่และมดลูกผิดปกติอาการจะเกิดขึ้นได้ทั้งการที่ประจำเดือนขาดหายไปหลายเดือน เมื่อกลับมามีประจำเดือนแต่ละครั้งกลับมีปริมาณมากผิดปกติ หรือ ประจำเดือนมาแบบกระปริบประปรอยและติดต่อกันหลายวัน ในผู้หญิงบางคนที่เกิดกรณีนี้อาจพบว่าประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเป็นปี
3 เกิดจากโรคร้ายแรง
โรคร้ายแรงที่ทำให้เกิดอาการประจำเดือนไม่มานั้นมีอยู่หลานโรค ได้แก่
– ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อาจจะเกิดการทำงานเกินของต่อมไทรอยด์ หรือการทำงานขาดของต่อมไทรอยด์ ทั้งสองอย่างล้วนแต่ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือนทั้งสิ้น
– เกิดเนื้องอกที่บริเวณต่อมสมอง บริเวณต่อมหมวกไต หรือบริเวณรังไข่
– มีภาวะโลหิตจากขาดเลือด
– ตับแข็ง ภาวะตับแข็งที่เกิดในผู้หญิงจะทำให้ประจำเดือนไม่มาและยังทำให้ผู้หญิงมีความผิดปกติในลักษณะเพศ เสียงจะทุ้มห้าวขึ้นและมีหนวดเคราคล้ายผู้ชายด้วย
– มีภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้หญิงจะมีผลกระทบให้ไม่มีประจำเดือน
– เป็นโรคที่เรียกว่า ชีแฮน (Sheehan’s syndrome ) โรคนี้จะเกิดกับผู้หญิงหลังคลอด เมื่อไม่มีประจำเดือนในช่วงตั้งท้องหลังจากนั้นเมื่อประจำเดือนควรจะมาแต่ต่อมใต้สมองเกิดทำงานผิดปกติ ไม่สามารถกระตุ้นรังไข่ให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้
– เป็นโรค คุชชิ่ง (Cuscing’ssyndrome) การเกิดโรคคุชชิ่งจะทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศชายมากเกินปริมาณปกติอย่างมากทำให้ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ มาน้อยหรืออาจจะไม่มาเลย
– โรคผังพืดหลั่งการอักเสบ หรือการขูดมดลูก ทำให้โพรงมดลูกเกิดผังผืด ช่องคลอดและปากมดลูกตีบตัน
– น้ำหนักเกิดการเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นอย่างมาก เช่นคนที่เกิดอ้วนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานหรือผอมซูบลงอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน ทำให้ฮอร์โมนและระบบในร่างกายแปรปรวน ประจำเดือนจึงไม่มา และในคนที่อ้วนมากเกินไป
ผิวหนังจะเปลี่ยนเซลล์ไขมันที่สะสมอยู่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน รังไข่จึงไม่ผลิตเอสโตรเจนในอัตราที่สมดุล ทำให้ไข่ไม่ตกและไม่มีประจำเดือน มีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน LH และฮอร์โมน FSH
– ผลจากการเป็นโรคคลั่งผอมหรือโรค อะนอเร็กเซีย ( Anorexia nervosa ) ผู้ป่วยที่เป็นโรคคลั่งผอมหรือกลัวอ้วนมากเกินไป จะกินน้อยทำให้น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง ขาดสารอาหารต่าง ๆ ฮอร์โมนทำงานผิดปกติและมีภาวะไม่สมบูรณ์ทำให้ประจำเดือนขาด
– นักกีฬาที่ใช้ร่างกายย่างหนัก เช่นนักวิ่งมาราธอนทำให้มีผลกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนและระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวเนื่องกับการเจริญพันธุ์ ประจำเดือนจะมาน้อยลงและไม่มาในที่สุดได้
– การฉายแสงในบริเวณท้องน้อยคือ รังไข่และมดลูกอันเนื่องจากโรคมะเร็ง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติและประจำเดือนไม่มา รวมไปถึงการให้เคมีบำบัดซึ่งเคมีบำบัดจะไปฆ่าเชื้อโรครวมถึงเซลล์ดี ๆ ทำให้รังไข่เกิดการทำงานที่ผิดเพี้ยนไป หรือการผ่าตัดรังไข่และมดลูก
– ยาบางชนิดที่รับประทานเพื่อรักษาหรือบรรเทาโรคก็อาจมีผลทำให้ประจำเดือนไม่มาด้วย ที่พบได้บ่อยก็คือ ยาแก้โรคไทรอยด์และยาแก้โรคซึมเศร้า
– การขาดอาหารเนื่องจากความผิดปกติของลำไส้ในการดูดซึมสารอาหารการที่ร่างกายเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น
วิธีรักษาประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มา
วิธีการที่จะรักษาหรือดูแลร่างกายในกรณีที่ประจำเดือนขาดหรือไม่มานั้น หากเกิดจากอาการตามธรรมชาติ เช่นการตั้งครรภ์หรือวัยทองที่หมดประจำเดือน ถ้าจะให้แน่ใจควรจะมีการตรวจเช็คเบื้องต้นเสียก่อน โดยตัวผู้ที่ประจำเดือนขาดเองนั้นต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าตนเข้าข่ายที่จะเป็นในกรณีใด
เช่น หากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ร่างกายสมบูรณ์ดีและมีคู่ครอง มีเพศสัมพันธุ์ให้ดูอาการร่วม เช่นอาการแพ้ท้องต่าง ๆ ทางที่ดีควรซื้อเครื่องมือตรวจการตั้งท้องมาตรวจสอบเบื้องต้นและไปพบแพทย์ให้ตรวจปัสสาวะ แพทย์จะตรวจระดับฮอร์โมนในปัสสาวะลรู้ผลว่าตั้งครรภ์หรือไม่ หากตั้งครรภ์จะจะตรวจทารกในครรภ์ต่อไป ส่วนในกรณีที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเข้าสู่วัยทอง ให้ไปตรวจกับแพทย์และรับคำแนะนำจากแพทย์
สำหรับเด็กวัยรุ่นที่ก้าวเข้าสู่วัยที่ควรจะมีประจำเดือน คืออายุระหว่าง 13-17 ปี แล้วยังไม่มีประจำเดือน ผู้ปกครองควรจะเอาใจใส่และเฝ้าสังเกต หากคิดว่าเลยช่วงเวลาที่ควรมีประจำเดือนครั้งแรกแต่กลับไม่มีละสงสัยว่าอาจจะเกิดความผิดปกติให้ไปพบแพทย์ อพทย์จะตรวจดูและเอ็กซเรย์ด้วยวิธีต่าง ๆ และวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด
บางครั้งการเอ็กซเรย์ก็สามารถบอกได้ว่าบุตรหลานอาจจะปกติดีและมีไข่ที่เตรียมรอสุกอยู่ในรังไข่ไม่ต้องกังวล หรือเอ็กซเรย์พบสิ่งผิดปกติก็จะได้ดำเนินการรักษาต่อไป
ในกรณีที่เกิดจากความไม่แข็งแรงหรือไม่สมดุลของร่างกาย เช่นอ้วนไป ผอมไป ขาดสารอาหาร โลหิตจาง ต้องหันมาใส่ใจบำรุงร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อร่างกายฟื้นฟูกลับมาสมบูรณ์ก็จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติได้
สำหรับโรคที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการไม่มาของประจำเดือน ผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและไม่ต้องคิดกังวลใด ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราว ควรที่จะทำตามคแนะนำของแพทย์เพื่อที่จะร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาให้สุขภาพพร่างกายกลับมาสมบูรณ์แข็งแรง แล้วระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติอย่างเดิม
ทั้งหมดนี้คือสาเหตุ ที่มา อาการและแนวทางในการดูแลร่างกายให้ประจำเดือนมาเป็นปกติสำหรับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งการมีร่างกายปกติสมบูรณ์เป็นไปตามธรรมชาติเป็นเสมือนพรที่วิเศษสำหรับคนทุก ๆ คน ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติใด ๆ ก็ตามควรจะรีบไปพบแพทย์ไม่ควรนิ่งนอนใจโดยเด็ดขาด