ทารกแรกเกิด 17 อาการที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวังมากที่สุด

ทารกแรกเกิด 17 อาการที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวังมากที่สุด กว่าจะคลอดออกมา คุณแม่ต้องทนอย่างหนัก ทั้งกาย และใจ เฝ้าดูแลเอาใจใส่ ยกความรักทั้งชีวิตมอบให้ ยามใดที่ลูกเจ็บไข้ได้ป่วย แม่นั้นเจ็บมากกว่าหลายเท่า คนที่ไม่เป็นแม่ไม่มีวันรู้ว่าความรักบริสุทธิ์ในการที่มอบให้ลูกนั้น มันยิ่งใหญ่มหาศาลเพียงใด เพราะฉะนั้นคุณแม่ทุกนจึงเฝ้าดูแลสุขภาพของลูกๆ และยกให้เป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 ในชีวิต

ในช่วย 4 สัปดาห์หลัง ถือว่าเป็นช่วงที่ต้องดูแลเอาใส่ใจให้มาก เพราะว่าเด็กอาจมีอาการผิดปกติ ไม่สบาย และเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาดูในเรื่องของอาการต่างที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกๆ เพื่อเราจะได้รู้ทันว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นจากอะไร และน่าเป็นห่วงมากน้อยขนาดไหน — ทารกแรกเกิด

คู่มือคุณแม่มือใหม่ใจเกิน 100 ต้องรู้เท่านั้น

ทารกแรกเกิดสดุ้ง

1. อาการสะดุ้งหรือผวา

อาการสะดุ้งหรือผวาจะพบได้มากในทารกที่อายุไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากการสัมผัสขณะหลับ ที่ตัว หรือแก้ม หรือมีเสียงดังเกิดขึ้น บางครั้งทารกจะรู้สึกเหมือนกำลังตกจากที่สูง วิธีแก้ปัญหาเหล่านี้คือ

1.1 ในตอนที่หลับอย่างเพิ่งวางเขาลง พยายามอุ้มเอาไว้ให้นานที่สุด แล้วค่อยๆ วางแผ่นหลังของลูกลงบนที่นอนอย่างแผ่วเบาเพื่อให้เกิดการสัมผัสที่ทำให้ตกใจได้

1.2 หลายครั้งที่เกิดอาการสะดุ้งหรือผวาเนื่องจากรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคุณแม่สามารถได้โดยวิธีง่ายๆ โดยการห่อตัวลูกด้วยผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป ให้เขาเหมือนกลับไปขดตัวอยู่ในมดลูกในแบบที่เขาเคยชิน จะช่วยให้ลูกหลับสนิทได้นานมากขึ้น

ลูกแรกเกิดกระตุก

2. อาการกระตุก

อาการที่คุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะตกใจ ว่าอาจจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวลูก คืออาการกระตุก อาการนี้ถือว่าเป็นปกติ เพราะว่าขณะที่ทารกนอนหลับจะมีอาการกระตุกที่แขนขา หรือมุมปากเป็นเรื่องธรรมดา

ทารกแรกเกิดบิดตัว

3. อาการบิดตัว

ไม่ต้องตกใจหากเห็นอาการบิดตัวของลูก เช่นการบิด แขน ขา หรือลำตัวไปมา เพราะว่าเป็นอาการคลายกับเวลาที่เราตื่นนอน โดยทางการแพทย์เรียกว่าการออกกำลังกล้ามเนื้อ เพื่อให้ทารกได้เคลื่อนไหวเป็นปฏิกิริยาของร่างกายปกติทั่วไป

สะอึกทารก

4. อาการสะอึก

อีกหนึ่งอาการที่ไม่น่าเป็นห่วง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ส่วนมากจะสะอึกบ่อยเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่สำหรับทารกนั้นจะมีอาการสะอึกให้เห็นในขณะดื่มนม เพราะว่า เมื่อทารกอิ่ม และกระเพาะเกิดการขยายตัว จะเกิดแรงดันในกระบังลมทำให้เกิดการหดตัวอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดอาการสะอึกนั่นเอง

ทารกแรกเกิดถ่ายบ่อย

5. อาการถ่ายบ่อย

อาการถ่ายบ่อยอาจจะทำให้คุณแม่หลายคนต้องเป็นกังวล แต่ทารกวัย 2 – 3 เดือน ที่ต้องกินนมแม่เพียงเดียว อาจจะถ่ายหลังจากทานนมเสร็จ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือในบางทีอาจมีอาการบิดตัว และผายลม จนบางครั้งอุจาระเล็ดออกมา เพราะว่ากระเพาะอาการได้รับน้ำนมจนเต็มที่ ในเด็กบางคนอาจถ่ายถึง 10 – 20 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นปกติ ทารกท้องเสียสามารถสังเกตได้จากอุจจาระที่เหลว อาเจียนบ่อย และมีไข้

ทารกแรกเกิดแหวะนม

6. อาการแหวะนม

เมื่อยังเป็นทารกเราทุกคนจะมีย่อยอาหารที่ยังไม่สมบรูณ์ เพราะฉะนั้นอาการแหวะนมอาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากการทันนมทัน ไม่ต้องกังวลเกินไป [ วิธีให้นมลูก ]

ทารกผิวหนังลอง

7. ผิวหนังลอก

ภายหลังจากคลอด 24 – 48 ชั่วโมง ผิวหนังของลูกในเด็กบางคนจะเริ่มลอกออก แท้จริงแล้วเป็นเพียงไขมันที่สร้างขึ้นเพื่อกำบังตอนที่ยังอยู่ในครรภ์ จะเริ่มลอกออกตามธรรมชาติ

ทารกแรกเกิดเท้าเขียว

8. อาการเขียวปลายมือปลายเท้า

หากว่าเด็กทารกอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำ หลังจากคลอดได้ 24 – 48 ชั่วโมง ปลายมือ และปลายเท้าเขียวอาจจะเขียวได้ เพราะฉะนั้นเราควรประอุณหภูมิห้องให้อยู่ 25-27 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะที่สุดสำหรับทารกในการนอนหลับ

ทารกแรกเกิดตาขาว

9. เลือดออกที่ตาขาว

อาการอีกอย่างที่ทำให้คุณแม่เป็นกังวลนั่นคือ บริเวณรอบ ๆ แก้วตา หรือตาขาวมีเลือดออก แต่อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติใน 2 – 3 สัปดาห์

ทารกมีตุ่มสีขาว

10. มีตุ่มสีนวลหรือขาว

ในทารกบางรายอาจจะมีตุ่มเล็กๆ ประมาณ 1 มิลลิเมตรขึ้นบริเวณ หน้าผาก เพดานแข็ง แก้ม ดั้งจมูก หรือหัวนม ตุ่มเหล่านี้จะหายไปเองตามธรรมชาติใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่ในบางรายอาจหายกว่าปกติ แต่ก็จะหายไปเมื่ออายุครับ 2 เดือน

ลูกทารกปากแห้ง

11. ริมฝีปากแห้งและลอกและหลุดเป็นแผ่น

ในบางครั้งเราจะเห็นได้ว่าทารกหลังคลอดมีริมฝีปากที่แห้ง มีอาการหลุดลอกเป็นแผ่น อาการนี้คือการผลัดผิวใหม่ตามปกติเท่านั้น

ลูกนมเป็นเต้า

12. นมเป็นเต้า

เด็กหลายคนจะมีน้ำนมไหลออกมา เพราะว่าฮอร์โมนของแม่ได้ผ่านมาสู่ตัวของทารก ไม่ต้องไปบีบ หรือเค้นน้ำนม เพราะอาจเกิดอาการอักเสบได้

ทารกแรกเกิดมีผด

13. มีผดแดงหรือผดร้อน

ทารกเมื่อมีอายุเกิน 2 – 3 สัปดาห์ หลายคนจะมีอาการผดแดง หรือผดร้อน เนื่องจากอากาศที่อยู่มีความร้อนชื่นอยู่สูง เพราะพัฒนาการของต่อมผิวหนังยังไม่สมบรูณ์ ทำให้เกิดการอุดตันในการขับเหงื่อ

ทารกแรกเกิดมีเลือดออกทางช่องคลอด

14. มีเลือดออกทางช่องคลอด

ในทารกเพศหญิงคุณแม่หลายคนจะตกใจอย่างมาก เมื่อลูกอายุได้ 3 – 5 วัน เพราะว่าจะมีเลือดออกมาจากช่องคลอด ไม่ต้องตกใจครับ นั่นเพราะว่าฮอร์โมนของแม่ได้ผ่านเข้าสู่ตัวเด็ก และอาการนี้จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์

ทารกแรกเกิดไม่ถ่ายทุกวัน

15. อาการไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน

อย่างที่เราได้บอกไปว่ามีทารกหลายคนที่ถ่ายบ่อยนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าทารกไม่ถ่ายหละ ถือว่าเป็นเรื่องปกติไหม ในทารกแรกเกิดหลายคนอาจจะถ่ายทุก ๆ 3-4 วัน เนื่องจากทานนมผสม ทำให้มีอุจาระแข็งกว่าปกติ ในบางครั้งอาจจะมีอาการร่วมเช่น ท้องผูก อึดอัด แต่อาการเหล่านี้ยังถือว่าปกติ

ทารกแรกเกิดร้องไห้เมื่อถ่ายปัสสาวะ

16. ร้องไห้เมื่อถ่ายปัสสาวะ

ในทารกที่อายุ 1 เดือนทุกคนจะรู้สึกเจ็บเวลาอยากขับถ่าย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติหากร้องไห้ขณะปัสสาวะ

ลูกแรกเกิดมีลิ้นขาว

17. มีลิ้นขาว

อาการลิ้นขาว เนื่องจากการได้รับนมเป็นอาหารหลัก จะทำเกิดคราบขาวต่างๆ บริเวณลิ้น เพดานปาก โดยทั่วไปจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน และจะเริ่มหายไปเองเมื่อมีอายุมากขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://th.theasianparent.com/อาการปกติของทารกแรกเกิด/3/
  2. https://th.theasianparent.com/ทำอย่างไรเมื่อ-ลูกนอนผวา-สะดุ้งตื่นบ่อย/