ตรวจทารกในครรภ์ ทำเองได้ วิธีง่ายๆ ด้วยการนับ
ตรวจทารกในครรภ์ คนที่กำลังจะเป็น คุณแม่ และคุณพ่อ รู้หรือไม่ว่าเราสามารถตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ได้เอง โดยไม่ต้องไปหาหมอ โดยวิธีดังต่อไปนี้
1.การนับลูกดิ้น
ทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 – 20 สัปดาห์ จะเริ่มดิ้น ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เราจะเห็นการเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ วิธีการนับลูกดิ้น ถูกใช้กันอย่างมาก ดังนี้
Sodovsky ส่วนมากแล้วทารกจะดิ้นหลังอาหาร และดิ้น 3 ครั้ง ต่อ 1 ชั่วโมง หรือให้นับรวมกัน 6 – 12 ชั่วโมงก็ได้ โดยอย่างน้อยจะต้องดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง หากน้อยกว่านี้ต้องพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพกับทารก
The Cardiff “ Count – to-ten charf ” คือ การนับนี้จะเริ่มนับตั้งแต่เวลา 9.00 น. และจะต้องดิ้นครบ 10 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง กล่าวคือ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า ไปจนถึง 3 ทุ่ม ทารกต้องดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง จึงถือว่าปกติ
อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป หากทารกดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง อาจเป็นเพราะทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอันตรายมากต้งปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ควรมีการจดบันทึกการดิ้นของทารกเอาไว้ ตั้งแต่ 28 – 32 สัปดาห์ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นต้องปรึกษาแพทย์ทันที
2.การวัดความสูงยอดมดลูก
ระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 หากทารกมีพัฒนาการทารกในครรภ์ที่ปกติ ยอดมดลูกจะสูงขึ้น
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์
คือการตรวจร่างกายของทารกในครรภ์ว่าปกติหรือไม่ พิการหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจที่ละเอียดตั้งแต่ เส้นเลือด ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรก สายสะดือ และตำแหน่งที่รกเกาะ สามารถทำได้ 2 ทาง คือ ผ่านทางช่องคลอด และผ่านหน้าท้อง ในปัจจุบันพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ
การตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ
การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจในบางราย เพราะอาจสงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ และโรคธาลัสซีเมีย วิธรนำเซลล์ออกมาได้แก่ การตัดเนื้อรก การเจาะดูดน้ำคร่ำ และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง
ข้อควรระวัง สิ่งที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ที่ทำให้การเจริญเติบโตไม่เป็นปกติ
1. โรคของแม่ เช่น
โรคเบาหวาน อาจทำให้ทารกมีโอกาสที่จะพิการแต่กำเนิด หรือเสียชีวิตในครรภ์
โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้ทารกมีโอกาสเติบโตช้ากว่าปกติ เมื่อขณะอยู่ในครรภ์
โรคหัวใจ อาจทำให้ทารกเกิดสภาวะขาดออกซิเจน และอาจจะเติบโตช้าเมื่อขณะอยู่ในครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมัน ในขณะที่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิด หรือเป็นต้อกระจก หูหนวก และอาจส่งผลให้เติบโตช้าเมื่อขณะอยู่ในครรภ์
โรคซิฟิลิส อาจทำให้ทารกเกิดการบวมน้ำ และมีโอกาสเสียชีวิตในครรภ์
2. การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
3. จิตใจของแม่ สภาพจิตใจของผู้ที่อุ้มครรภ์มีผลอย่างมากต่อทารก หากเกิดความเครียด ร่างกายจะสารเคมี และฮอร์โมนออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว จนลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกไม่เพียงพอ และอาจแท้งได้
4. ดูแลพฤติกรรมการทานอาหารของแม่ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารเสริมคนท้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงยาทุกชนิด เพื่อ สุขภาพคุณแม่ และคุณลูกด้วยนะค่ะ