10 วิธี รักษางูสวัสดิ์ (แนะนำ) ดูแลพร้อมยา หายเร่งด่วน แน่นอน!
10 วิธี รักษางูสวัสดิ์ (แนะนำ) ดูแลพร้อมยา หายเร่งด่วน แน่นอน! “โรคงูสวัด” เริ่มเป็นโรคที่คุ้นหูของคนไทยมากขึ้น เพราะสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย สาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับโรคอีสุกอีใสเพียงมีข้อแตกต่างตรงที่อีสุกอีใสสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
ในขณะที่งูสวัดจะเกิดขึ้นได้กับคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนแล้วเท่านั้น!! ฉะนั้นปัจจัยที่จะทำให้งูสวัดจะกำเริบขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาบางชนิด อย่างเช่น ยารักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
และในส่วนของวิธีรักษางูสวัดก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ทั้งการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ สมุนไพรพื้นบ้าน หรือยาทา และที่สำคัญแพทย์จะรักษางูสวัดตามลักษณะอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะมียาอะไรบ้างนั้นมาลองดูกันค่ะ ― รักษางูสวัสดิ์
1. งูสวัด อาการไม่รุนแรง
กรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีระยะอาการไม่รุนแรงมากเท่าไหร่ แพทย์ที่ทำการรักษาจะรักษาตามอาการที่ปรากฎ อาทิ หากรู้สึกคันหรือปวดแสบปวดร้อนก็จะให้ยาทาแก้คัน, ถ้ารู้สึกเจ็บปวดก็รักษาด้วยการให้ยาแก้ปวด หรือถ้าเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนทำให้ตุ่มกลายเป็นหนองก็จะรักษาด้วยการใช้ยาปฎิชีวนะ เช่น อิริโทรมัยซิน
2. งูสวัด ผู้ป่วยอายุมาก
กรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, ตุ่มเกิดขึ้นบนใบหน้า หรือคนที่เจ็บปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่ผื่นเริ่มขึ้น วิธีรักษางูสวัดหมอจะให้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ในปริมาณครั้งละ 800 มิลลิกรัม โดยการให้รับประทานทุก 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง
ใช้ระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 7 วัน เพื่อให้เกิดผลดีหายได้เร็วขึ้นและลดระดับความรุนแรงของโรค ควรเริ่มให้ยาตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มเกิดอาการ
3. ยารักษางูสวัด
แต่ถ้าไม่ต้องการรับประทานยาถึงวันละ 5 ครั้ง สามารถเปลี่ยนมาเป็นยาวาลาซิโคลเวียร์ (Valaciclovir) และแฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir) ซึ่งยาให้ฤทธิ์ใกล้เคียงกับอะไซโคลเวียร์ แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ทานยาเพียงแค่วันละ 3 ครั้งเท่านั้น ในขณะเดียวกันต้องแลกกับราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
4. งูสวัด ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
กรณีที่พบว่าเชื้องูสวัดเป็นชนิดที่แพร่กระจาย (ในลักษณะออกนอกแนวเส้นประสาท) หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาด้วยการนอนพักในโรงพยาบาล พร้อมกับให้ยาอะไซโคลเวียร์แบบชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดในปริมาณ 10-12.5 มิลลิกรัม ทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 7 วัน
5. รักษางูสวัดขึ้นตา
กรณีที่งูสวัดขึ้นตา แนะนำว่าควรรักษางูสวัดกับแพทย์เฉพาะทางอย่างจักษุแพทย์ โดยแพทย์จะให้ทานยาอะไซโคลเวียร์ ปริมาณ 800 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง/วันละ 5 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 10 วัน และให้ขี้ผึ้งป้ายตาอะไซโคลเวียร์ 3% ป้ายลงไปบริเวณที่เกิดงูสวัดวันละ 5 ครั้งควบคู่กันไป
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นม่านตาอักเสบ อาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์ และยาหยอดตาอะโทรปีน 1% มาใช้ในการรักษา
6. กรณีงูสวัดที่มีอาการใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก
กรณีที่มีอาการใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก แพทย์จะรักษางูสวัดด้วยการให้กินยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ในปริมาณวันละ 40-60 มิลลิกรัมไปเรื่อยๆจนกว่าผื่นจะเริ่มหายหมด อาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น
7. งูสวัดชนิดแพร่กระจาย
กรณีที่เป็นงูสวัดชนิดแพร่กระจายหรือขึ้นซ้ำซากไม่หายสักที แถมงูสวัสดิ์ติดต่อได้ แนะนำว่าควรนำเลือดไปตรวจสอบดูให้แน่ชัดว่าติดเชื้อ เอชืไอ วี หรือเชื้อเอดส์แทรกซ้อนขึ้นร่วมอยู่ด้วยหรือเปล่า เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางรักษาให้ถูกทาง
8. ยาพารเซตามอล
กรณีที่ผู้ป่วยงูสวัดมีอาการปวดประสาทร่วมอยู่ด้วยหลังจากเป็นงูสวัดแล้ว แพทย์จะรักษาอาการปวดโดยการให้ทานยาพารเซตามอล (Paracetamol), ยาต้านการอักเสบ หรือทรามาดอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ในทุก 6 ชั่วโมง หรือให้เป็นยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
เริ่มแรกอาจจะให้วันละ 20-25 มิลลิกรัมก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณในทุกๆสัปดาห์จนเห็นผลการรักษาที่ดี (ยาอาจให้ผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน ปาก คอ แห้ง) แต่หากว่าไม่ได้ผลหรือยังคงมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น ควรแจ้งแพทย์ในทันที เพราะแพทย์จะได้พิจารณาเปลี่ยนการรักษามาเป็นวิธีฉีด ยาทา ยาพ่น
ในบางรายแพทย์อาจให้เป็นยาแก้โรคลมชัก ชนิด คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine), กาบาเพนติน (Gabapentin) เพื่อใช้บรรเทาอาการปวดประสาทด้วยก็ได
9. ใช้ยาปฎิชีวนะในการรักษางูสวัด
นอกจากการใช้ยาปฎิชีวนะในการรักษาแล้ว เรายังสามารถนำสมุนไพรมารักษาด้วยก็ได้ เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากทานยา โดยสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณคือ ใบเสลดพังพอนตัวเมียหรือพญายอ ซึ่งมีผลการวิจัยยืนยันว่าสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณในการรักษางูสวัดได้อย่างยอดเยี่ยม
ส่วนขั้นตอนก็นำใบเสลดพังพองสดๆมาล้างน้ำให้สะอาด บดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาลงไปบริเวณแผลงูสวัด หรือถ้าให้ง่ายกว่านั้น ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตครีมสำเร็จรูปชื่อว่า “ครีมพญายอ” ที่นำไปใช้ทาได้ทันที แต่ต้องบอกก่อนว่าวิธีนี้ใช้รักษาได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากเท่าไหร่
10. การฉีดวัคซีนรักษางูสวัด
การฉีดวัคซีนรักษางูสวัด เป็นวิธีเดียวที่สามารถลดอาการโรคงูสวัด แถมลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นงูสวัดได้อย่างเห็นผลชัดเจน ซึ่งในอเมริกาได้มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนโรคงูสวัดอย่างน้อย 1 เข็มให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
สำหรับการรักษางูสวัดทั้ง 10 วิธีนี้สามารถเห็นผลดีหรือหายขาดได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายส่วนเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าหากไม่อยากต้องมารักษาก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตลอดเวลา งูสวัสดิ์ห้ามกินอาหารพวหหมักดองหรือแอลกอฮอล โดยเฉพาะคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว ยิ่งต้องดูแลตัวเองให้ดีเลยล่ะค่ะ