10 วิธีรักษา แผลในกระเพาะอาหาร ให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธีภาพ
10 วิธีรักษา แผลในกระเพาะอาหาร ให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธีภาพ คนที่ป่วยเป็นโรคกระเพาอักเสบส่วนมากจะมีอาการจุก เสียด ปวดแน่นท้อง ก่อนและหลังรับประทานอาหารอาการจะเป็นๆหายๆ มักจะเกิดอาการปวดราวๆ 15 – 30 นาทีไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตเท่าไหร่ เมื่อได้กินอาหาร ดื่มน้ำ หรือกินยาลดกรดอาการเหล่านี้ก็จะบรรเทาลง
แต่ทว่าหากคนที่เป็นโรคกระเพาะไม่ได้รับการดูแลรักษาก็อาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหารที่รุนแรง จนถึงขั้นมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
สำหรับการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้น ถ้าอยากรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมุ่งเน้นการรักษาไปที่ต้นเหตุ เพราะถึงแม้กินยาปฎิชีวนะเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคกระเพาะก็จะกลับมาถามหาเช่นเดิม ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังนี้ … แผลในกระเพาะอาหาร
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร อย่างเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาคลายกล้ามเนื้อ น้ำตาลทราย น้ำอัดลม ชา กาแฟทั้งที่มีคาเฟอีน และไม่มีคาเฟอีน โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นเพิ่มการหลั่ง กรดในกระเพาะ เป็นต้น
2. บอกลาอาหารที่มีรสจัดมากๆ
บอกลาอาหารที่มีรสจัดมากๆ อาหารจำพวกไขมันสูง เพราะมีผลการทดลองพบว่าอาหารที่มีไขมันสูงสามารถให้เกิดการกระตุ้นปฏิกิริยาออซิเดชั่น ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบมากขึ้นไปกว่าเดิม รวมทั้งอาหารทอด อาหารมันด้วย
3. เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ
เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ สามารถย่อยได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกว่าอาการกำเริบหรือช่วงระหว่างที่รักษาแผลให้หาย ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องกินอาหารอ่อนอย่างนี้ไปประมาณ 1-2 เดือน ถึงจะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ
4. พยายามกินอาหารให้ตรงต่อเวลา
พยายามกินอาหารให้ตรงต่อเวลา และควรกินอาหารให้พออิ่มแบบน้อยๆแต่สามารถกินได้บ่อยๆแทน อย่ากินจนอิ่มจัดมากจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้มีกรดหลั่งออกมามาก และหลีกเลี่ยงกินอาหารจำพวกนม โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องของการย่อยน้ำตาลในนม(แลคโตส)
5. ควรเลือกกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
ควรเลือกกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เพราะมีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวไว้ว่าการกินอาหารที่มีเส้นใยสูง (อาหารประเภทผักหรือผลไม้ 400 กรัม/วัน) สามารถลดความเสี่ยงต่ออาการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ลดลงถึง 45% เป็นระยะยาวถึงประมาณ 6 ปี ด้วยการนำมาเปรียบเทียบคนที่กินอาหารปริมาณกากใยน้อย
โดยเฉพาะหากเลือกกินอาหารที่มีใยชนิดอุ้มน้ำ เช่น ลูกเดือก แอปเปิ้ล ข้าวโอ๊ต เม็ดแมงลัก กระเจี๊ยบฝัก ยิ่งลดอัตราความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นถึง 60% เลยเชียว นั่นเป็นเพราะใยอาหารทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร แถมช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และยังช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
อย่างไรก็ดีการเลือกรับประทานใยอาหารเสริมแทนการกินจากเส้นใยจากผักจะไม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
6. เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เพราะอุดมไปด้วยแหล่งโปรตีนที่มีสรรพคุณช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีมากใน เนื้อปลา อกไก่ หมูสันใน ไข่ขาว แนะนำว่าควรกินในช่วงระหว่างพักฟื้นหรือกินตอนรู้สึกว่าอาการกำเริบ
และหลังจากนั้นประมาณ 8 สัปดาห์ให้กินเนื้อสัตว์เหล่านี้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 25% หรือประมาณ 4-5 ช้อนต่อวัน ก็ยิ่งจะช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายได้ไวขึ้น
7. การรับประทานสารอาหารที่มีสังกะสีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
การรับประทานสารอาหารที่มีสังกะสีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งการตอบสนองต่อปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในร่างกาย ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นการกินวิตามินเอก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ควรกินวิตามินเอที่อยู่ในรูปผัก ผลไม้สีส้ม แดง เหลือง แทนการกินเสริมวิตามินเอในรูปแบบยา เพราะมีความเสี่ยงว่าจะได้รับวิตามินเกินขนาดจนกลายเป็นพิษในที่สุด
8. เพิ่มสารฟลาโวนอยด์ให้กับร่างกาย
เพิ่มสารฟลาโวนอยด์ให้กับร่างกาย ซึ่งมีมากในเมนูอาหารชีวจิต อย่าง แอปเปิ้ล องุ่น แครนเบอรี่ หัวหอม สาลี่ กระเทียม กระชาย เซเลอรี่ขึ้นฉ่าย เป็นต้น และไม่เพียงแต่จะมีดีแค่สารต้านอนุมูลอิสระเท่านั้น ยังมีคุณสมบัติเด่นลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อ Helicobacter pylori อันเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบอีกด้วย
9. การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหาร
การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหาร สามารถยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Helicobacter pylori ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังย่นระยะเวลาการรักษา และลดอาการสาเหตุที่เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาปฎิชีวนะที่ใช้ในการรักษาเชื้อดังกล่าว
10. เสริมวิตามินซี
เสริมวิตามินซี อย่างที่ทราบว่าโรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุหนึ่งมาจากเชื้อ Helicobacter pylori การกำจัดแบคทีเรียชนิดนี้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา ซึ่งอาหารที่ส่งผลในการลดเชื้อได้นั่นก็คือวิตามินซี แต่ทั้งนี้การเสริมวิตามินซีควรอยู่ในระดับที่พอเหมาะ โดยการกินวิตามินซีเสริม 500 มิลลิกรัม/วันต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน
การรักษาแผลในกระเพาะอาหารนอกจากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินในแต่ละวันแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรหมั่นทานอาหารให้ตรงเวลาสาเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร รวมทั้งอย่าพกความเครียดไว้กับตัวมากจนเกินไป เพราะความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนว่าในไม่ช้าโรคกระเพาะก็จะดีขึ้นคะ